Blog

เบาหวานและโควิด-19
(Coronavirus disease : COVID-19) EP1

ตั้งแต่ปีค.ศ. 2019 เริ่มมีการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัส SARS-C0V-2 (the severe acute respiratory syndrome coronavirus 2) บางพื้นที่และระบาดทั่วโลก (pandemic) ในปีค.ศ. 2020 ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตโรคโควิด-19 จำนวนหลายล้านคน ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มักสูงอายุ หรือโรคประจำตัวร่วม เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงโรคมะเร็ง โรคอ้วน และโรคปอดเรื้อรัง ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาดังนั้นการป้องกันโรคและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยจึงมีความสำคัญ

การติดต่อของโรคโควิด-19 โดยละอองฝอย ( respiratory droplet) และการสัมผัสตัวกลาง (fomite) ระยะการฟักตัวเฉลี่ย 6.4 วัน (2-14 วัน) บางรายงานระยะฟักตัวถึง 24 วัน อาการและอาการแสดง ได้แก่ มีไข้ ไอแห้ง หายใจเหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนน้อยไอมีเสมหะ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณ 80% ไม่แสดงอาการหรืออาการไม่รุนแรง ในรายที่มีปอดอักเสบติดเชื้อที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลประมาณหนึ่งในสี่มีภาวะวิกฤติทางระบบการหายใจ ( acute respiratory distress syndrome) โรคโควิด-19 มีอัตราการเสียชีวิตในประชากรทั้งหมด 2.3% และจะเพิ่มขึ้นตามปัจจัยเสี่ยง เช่น สูงอายุ โรคร่วม ( เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคอ้วน และโรคปอดเรื้อรัง) สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่ต่างกับประชากรทั่วไป แต่เมื่อป่วยโอกาสที่โรคจะเป็นรุนแรงมากขึ้น อัตราการเสียชีวิตจะสูงกว่าประชากรทั่วไป 3 เท่า ( อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน 7.3%) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดสามารถเพิ่มความเข้มข้นน้ำตาลของสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจและเยื่อบุทางเดินหายใจทำให้ไวรัสมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้น และงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเยื่อบุถุงลมและหลอดเลือดทำให้เกิดภาวะวิกฤติทางระบบการหายใจ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลกดภูมิคุ้มกันของร่างกายในการกำจัดไวรัส อย่างไรก็ตาม ถ้าคุมเบาหวานได้ดีพบว่าความเสี่ยงในการป่วยรุนแรงจากโควิดใกล้เคียงคนปกติ

สิ่งสำคัญของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในยุคโควิด-19 คือ การป้องกันไม่ให้ติดโรค ซึ่งหลักการไม่ต่างจากประชากรทั่วไป คือ

• ล้างมือ
• งดสัมผัสหน้า
• ทำความสะอาดวัตถุที่สัมผัสบ่อยๆ
• ไอ จาม ควรใช้ต้นแขนหรือข้อพับปิดปากและจมูก
• เลี่ยงการติดต่อผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย
• เลี่ยงเดินทางด้วยรถที่แออัด, เลี่ยงที่ชุมนุมจำนวนมาก, เว้นระยะทางสังคม (social distancing) 2 เมตร
• สวมหน้ากากอนามัย
• พักผ่อน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
• กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ, ดื่มน้ำให้เพียงพอ
• ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี
• ตั้งใจคุมเบาหวานให้ดีขึ้น
• กินยารักษาโรคประจำตัวต่อเนื่อง ไม่หยุดยาด้วยตัวเอง และสำรวจยารักษาโรคประจำตัวว่ามีเพียงพอ 2-3 สัปดาห์หรือไม่ ถ้าต้องถูกกักตัว หากยาไม่เพียงพอควรติดต่อแพทย์ที่ดูแล
• สำรองอาหารโดยเฉพาะประเภทน้ำตาลอย่างเพียงพอ สำหรับแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันท่วงที
• เมื่อสงสัยว่าป่วย ให้พักอยู่บ้านและโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากแพทย์หรือทีมโรงพยาบาลที่ดูแล

สิ่งสำคัญของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในยุคโควิด-19 คือ การป้องกันไม่ให้ติดโรค ซึ่งหลักการไม่ต่างจากประชากรทั่วไป คือ

• ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
• ตรวจวัดน้ำตาลปลายนิ้วเองที่บ้านบ่อยๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง เนื่องจากการติดเชื้อทุกชนิดเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กรณีน้ำตาลปลายนิ้วมากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แนะนำตรวจกรดคีโตน (Ketone) หรือติดต่อแพทย์ที่ดูแล
• เฝ้าระวังภาวะร่างกายขาดน้ำและดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (120-180 มิลลิลิตรทุก 30 นาที)
• กินยารักษาโรคประจำตัวต่อเนื่องรวมถึงการฉีดอินซูลิน ไม่หยุดยาด้วยตัวเอง และสำรวจยารักษาโรคประจำตัวว่ามีเพียงพอ 2-3 สัปดาห์หรือไม่ ถ้าต้องถูกกักตัว หากยาไม่เพียงพอควรติดต่อแพทย์ที่ดูแล
• สำรองอาหารโดยเฉพาะประเภทน้ำตาลอย่างเพียงพอ สำหรับแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันท่วงที
• หากอยู่คนเดียว แนะนำหาคนที่ไว้วางใจและมั่นใจว่าจะช่วยเหลือหากต้องการความช่วยเหลือ
• เมื่อสงสัยว่าป่วย ให้พักอยู่บ้านและโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากแพทย์หรือทีมโรงพยาบาลที่ดูแล
• แจ้งแพทย์ว่าเป็นเบาหวานโดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 1 หรือใช้ยาฉีดอินซูลิน
• ให้ข้อมูลตามจริง
• พบแพทย์หรือสายด่วน(hotline) เพื่อประเมินหาสาเหตุการเจ็บป่วยและติดตาม
• ถ้าไข้ อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หายใจมีกลิ่นผลไม้ (Fruity odor) หอบเหนื่อย ซึม ปวดท้องรุนแรง ให้รีบมาพบแพทย์
• กินยารักษาโรคประจำตัวต่อเนื่อง ไม่หยุดยาด้วยตัวเอง และสำรวจยารักษาโรคประจำตัวว่ามีเพียงพอ 2-3 สัปดาห์หรือไม่ ถ้าต้องถูกกักตัว หากยาไม่เพียงพอควรติดต่อแพทย์ที่ดูแล
• สำรองอาหารโดยเฉพาะประเภทน้ำตาลอย่างเพียงพอ สำหรับแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันท่วงที
• เมื่อสงสัยว่าป่วย ให้พักอยู่บ้านและโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากแพทย์หรือทีมโรงพยาบาลที่ดูแล

หลังจากการระบาดโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคใหม่และมีผลกระทบกับทุกคนในสังคมที่ต้องใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตใหม่ (New normal) ผู้ป่วยเบาหวานซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงของโรคมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่เมื่อผู้ป่วยเบาหวานป่วยเป็นโรคควรรู้วิธีปฏิบัติตัวเพื่อให้เกิดลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อหรือจากภาวะน้ำตาลที่ผิดปกติระหว่างเจ็บป่วยได้

You may also like